วอร์มเกียร์ หรือเกียร์ทดรอบ

วอร์มเกียร์ (Worm Gear) มีหน้าที่ลดรอบการทำงานของมอเตอร์ให้ชะลอความเร็วลง โดยการทำงานผ่านเฟืองตัวหนอน และเพิ่มแรงบิดให้มากขึ้น วอร์มเกียร์ทดรอบ เหมาะกับการใช้งานทั่วไปในงานอุตสาหกรรม

ความหมายของเกียร์ทดมอเตอร์ หรือวอร์มเกียร์ คืออะไร

เกียร์ทดมอเตอร์ วอร์มเกียร์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกว่าเฟืองทดรอบซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งกำลังผ่านฟันเฟืองในรูปของแรงบิด ถ้าหากแบ่งประเภทของเฟืองออกตามลักษณะของฟันเฟืองและการใช้งานแล้วก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น เฟืองตรง, เฟืองเฉียง, เฟืองก้างปลา, เฟืองสะพาน และเฟืองดอกจอก ซึ่งลักษณะของฟันเฟืองจะสามารถช่วยในการทดรอบให้ใช้ของมอเตอร์เกียร์ลดกำลังให้น้อยลงเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกลไกให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น ซึ่งจะมีการใช้งานในหลักการทดรอบ ได้แก่ การใช้เฟืองขับที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า ใช้ในการขับเคลื่อนเฟืองได้ตามที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กกว่า เช่น เทรน และกังหันวิดน้ำ เป็นต้น

การนำเกียร์ทดมอเตอร์หรือวอร์มเกียร์ ไปใช้งานส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้กับระบบอุตสาหกรรมหรือใช้ในภาคเกษตรกรรมซึ่งการนำไปใช้จะเป็นในส่วนของ ฟันเฟือง เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่านี่คือกลไกในการขับเคลื่อนของการทำงานของชุดเกียร์มอเตอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะทำให้เกียร์มอเตอร์หรือมอเตอร์เกียร์หรือวอร์มเกียร์ ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากจะพูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือเกียร์ทดมอเตอร์ หรือวอร์มเกียร์เป็นกลไกที่เป็นหนึ่งในกระบวนการทั้งหมดของมอเตอร์เกียร์ หรือวอร์มเกียร์นั่นเอง

ชุดเฟืองตัวหนอน (Worm gear set) ใช้เพื่อการส่งกําลังสําหรับเพลาที่แบบที่ไม่ขนานกัน และไม่ตัดกัน (ส่วนใหญ่มักจะทํามุม 90° ซึ่งกันและกัน) ซึ่งเป็นเฟืองที่ต้องการอัตราทดที่สูงกว่า แต่ชุดเฟืองตัวหนอน หรือวอร์มเกียร์มีการเสียดสีระหว่างฟันมากกว่า จึงมีประสิทธิภาพที่ตํ่ากว่า และ ต้องมีการระบายความร้อนที่เหมาะสมกว่า

การทํา Enveloping เพื่อเพิ่มพื้นที่ สัมผัส จะทําให้การรับภาระได้สูงขึ้นอีก แต่ต้อง ระวังในการติดตั้งเพื่อให้ได้ศูนย์ที่เหมาะสม

ระยะในแนวแกนของ worm gear ที่จะเคลื่อนที่ไปได้เมื่อมีการหมุน 1 รอบ (เหมือน สลักเกลียว) มุมระหว่างแนวเอียงของ เกลียวตัวหนอนและเส้นตั้งฉากกับแกนของ เฟืองตัวหนอนหรือวอร์มเกียร์ ทํานองเดียวกับ Helical gear การส่งแรงกําลังจะตั้งฉากกับผิว คือ

1. แรงตั้งฉากกับเส้นแนวมุมฮีลิกซ์ (หรือการทํามุม = lead angle กับแกน)

2. แรงของการทํามุมกับ normal pressure angle กับระนาบสัมผัสผิวพิตซ์

เนื่องจาก worm และ worm gear วางตั้ง ฉากกัน ดังนั้น

1.แรงแนวสัมผัสของ worm จะเท่ากับแรง ในแนวแกนของ worm gear

2.แรงในแนวแกนของ worm จะเท่ากับแรง ในแนวสัมผัสของ worm gear

About the Author

You may also like these